|
งานฉลองและเทศกาลของอิสราเอล
|
|
|
1. บาร์มิทซ์วาห์ เมื่อเด็กผู้ชายอายุ 13 ปี ตามกฎของยิวถือว่าโตพอที่จะถือรักษาพระบัญญัติต่างๆได้แล้ว และสามารถอ่านพระคัมภีร์โทราห์ออกเสียงดังในธรรมศาลาของวันสะบาโตแรก หลังจากวันเกิดของเขาเด็กชายชาวยิวจะต้องรู้ภาษาฮีบรู มีความรู้เกี่ยวกับศาสนายิว พิธีกรรมต่างๆตลอดจนความเชื่อของศาสนายิวมากพอสมควร
|
|
|
-
|
พิธีบาร์มิทซ์วาห์ นิยมประกอบพิธีที่ เธอะ เวสเทิร์น วอลล์ |
-
|
การอ่านพระคัมภีร์โทราห์ ในพิธีมาร์มิทซ์วาห์ เด็กชายที่เข้าพิธีจะต้องสวม ผ้าคลุมไหล่ผืนใหญ่ สำหรับการอธิษฐานและใช้ชายผ้าคลุมนั้นคั่นพระคัมภีร์ ตอนที่จะอ่าน และจะต้องระมัดระวังไม่ไปแตะถูกพระคัมภีร์ เขาจะต้องคาด กล่องสีดำใบเล็กๆที่เรียกว่า "เทฟิลลิม" ไว้บนหน้าผากและแขนซ้ายใกล้หัวใจ ในระหว่างประกอบพิธี ในกล่องนั้นบรรจุกระดาษแผ่นหนึ่งที่จารึกพระวจนะ ที่เรียกว่า เชมา ไว้ คือ ฉธบ 6 : 4 - 8 |
-
|
ผ้าผืนใหญ่ที่ใช้คลุมระหว่างการอธิษฐานเรียก เทฟิลลิม ทาลลิต |
-
|
"คิปปาห์" คือ หมวกกลมใบเล็กๆที่ผู้ชายยิวสวมคลุมศีรษะเสมอ เพื่อแสดงความ เคารพนบนอบต่อพระเจ้า |
|
|
|
2. วันสะบาโต (ชาบัต) มีการถือรักษาวันสะบาโตทุกสัปดาห์ โดยเริ่มก่อนดวงอาทิตย์ตกดินในเย็นวันศุกร์ และจบลงหลังจากดวงอาทิตย์ตกในวันเสาร์
|
|
|
-
|
เป็นการระลึกถึงการทรงสร้างโลก เมื่อพระเจ้าทรงหยุดพักการทรงสร้างใน วันที่เจ็ด นอกจากนั้นยังเป็นวันที่ระลึกกานที่พระเจ้าปลดปล่อยชาวฮีบร ูจากการเป็นทาสในอียิปต์ |
-
|
ชาบัต เริ่มต้นด้วยการที่แม่บ้านจุดเทียนอย่างน้อย 2 เล่มขึ้น จะทักทายด้วยคำว่า ชาบัต ชาโลม" แปลว่า "สันติสุสข ในวันสะบาโตจงมีแด่ท่าน" |
-
|
ในตอนเย็นทุกคนในครอบครัวจะทานอาหารมื้อพิเศษร่วมกัน เริ่มด้วยการขอพระพรจากพระเจ้าและดื่มเหล้าองุ่น และขอพรสำหรับวันนั้น เป็นพิธีที่เรียกกันว่า "คิดดุช" การอธิษฐานเริ่มด้วย "สรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงเป็นกษัตริย์ของสากลจักรวาล ผู้ทรงสร้างผลของเถาองุ่น...." |
-
|
อาหารมื้อนั้นจะเริ่มด้วยการขอพระพรสำหรับขนมปัง ซึ่งประกอบด้วยขนมปัง อบพิเศษ 2 แถวมาพันหรือถักไขว้กัน เรียกว่า "คาลาท์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนมานา 2 เท่าที่เก็บในวันก่อนวันสะบาโต |
-
|
วันสะบาโตจบลงด้วยพธีกรรมเล็กๆ อีกพิธีหนึ่งเรียกว่า "ฮาฟดาลลาห์" หมายถึง "การแบ่งแยก" 3โดยผู้เป็นพ่อจะสรรเสริญพระเจ้า ผู้ทรงแยกวันสะบาโตจากวันอื่นๆของสัปดาห์ และทรงแยกอับราฮัม ออกจากชนชาติอื่นๆ โดยถือไส้เทียนที่จุดไว้แล้ว เอามือป้องไว้เป็นสัญลักษณ์ เทียนที่ถักไว้เป็นพิเศษจะถูกจุดขึ้นกล่องบรรจุเครื่องเทศหอมหวานนี้จะเป็น สัญลักษณ์แสดงถึงกลิ่นอันหอมหวานของวันสะบาโต แล้วจะรินเหล้าองุ่น รดเทียนไขเล่มหนึ่งนั้น ทุกคนในครอบครัวก็จะอวยพรกันและกันให้สัปดาห์ที่ จะมาถึงนั้นเป็นพรแก่ทุกคน |
|
|
|
 |
|
|
3. โรช ฮาชานาห์ วันขึ้นปีใหม่ของชาวยิว เรียกกันว่า "โรช ฮาชานาห์" แปลว่า "ต้นปี" ตรงกับเดือนกันยายน หรือตุลาคม เป็นวันแรกของปีตามปฏิทินที่ประชาชนใช้กัน ในช่วงอาหารเย็นก่อนวันโรช ฮาชานาห์ 1 วัน ทุกคนจะจิ้มชิ้นแอปเปิ้ลลงในน้ำผึ้ง และกินแอปเปิ้ลนั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหวังใจว่า ปีที่จะมาถึงจะมีแต่ ความรุ่งโรจน์และหวานชื่น วันนี้ที่เวสเทิรน วอลล์ และในธรรมศาลาของชาวยิวทั่วทุกแห่งจะมีเป่าแตรเขาแกะ เรียกว่า "โชฟาร์" เพื่อเตือนใจประชาชนถึงแกะตัวผู้ที่อับราฮัมถวายเป็นเครื่องบูชา แทนอิสอัค และยังแสดงถึงความเชื่อฟังต่อพระบัญชาในพระคัมภีร์ และยังเป็นการ เตือนว่า วันลบมลทินมาใกล้แล้วเพื่อเขาจะเตรียมตัวให้พร้อม
|
|
|
4. ยม คิปปูร์ 10 วันหลังจากวัน โรช ฮาชานาห์ คือ "วันลบมลทิน" (ลวต 23 : 27 - 28)
|
|
|
5. สุคคต หลังจาก ยมคิปปูท์ ผ่านไปไม่นานมักจะเป็น "เทศกาลอยู่เพิง" สุคคตหมายถึง เพิง หรือ พลับพลา เพิงที่สร้างขึ้นนี้ใช้เป็นเครื่องเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า เมื่อบรรพบุรุษของพวกเขายังไม่มีบ้านเมืองถาวร แต่ต้องเดินทางเร่ร่อน อยู่ในถิ่นทรุกันดาร หลังจากอพยพออกจากอียิปต์ ระหว่างพิธีในธรรมศาลา ชาวยิวจะโบกกิ่งวิลโล กิ่งต้นน้ำมันเขียว กิ่งปาล์ม และผลส้มไปมา เพื่อแสดงว่าพระเจ้าทรงอยู่ทุกหนทุกแห่งและทุกประเทศเขตแดน
|
|
|
6. ชิมหัต โทราห์ วันสุดท้ายของเทศกาล สุคคต เรียกว่า ชิมหัต โทราห์ หมายถึง "ชื่นชมยินดีในโทราห์" จะมีการอ่านพระคำตอนสุดท้ายในเฉลยธรรมบัญญัติ และตอนแรกสุดของปฐมกาล เพื่อนแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด
|
|
|
7. ฮานุกะห์ คือเทศกาลแห่งแสงสว่าง ซึ่งตรงกับเดือน ธันวาคม และใกล้กับเทศกาลคริสต์มาส เทศกาลนี้เป็นงานฉลองถวาย มหาวิหารที่ 2 ในสมัยมัคคาบี เมื่อปี 165 ก่อน คริสตกาล.
|
|
|
8. เทศกาลเพสะห์ (เทศกาลปัสกา) เทศกาลปัสกา หรือ ที่ชาวยิวเรียกว่า เพสะห์ เป็นการเฉลิมฉลองการที่ชาวฮีบรูหนีออก จากแผ่นดินอียิปต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนที่ทูตแห่ง ความตายผ่านบ้านของ ชาวฮีบรูไป แต่เข้าไปบ้านของชาวอียิปต์เท่านั้น เทศกาลนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ เทศกาลอีสเตอร์ เขาจะกินขนมปังไร้เชื้อ เป็นสิ่งเตือนใจคือ ขนมปังแห่งความทุกข์ยาก
|
|
|
9. เซเด 2 คืนแรกของเทศกาลเพสะห์ ครอบครัวชาวยิวจะมาชุมนุมกันเพื่อฉลองเซเด ช่วงนั้นพวกเขาจะอ่าน "ฮากาดาห์" หมายถึง การเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องที่พระเจ้าทรง ปลดปล่อยชาวฮีบรูจากการเป็นทาสในอียิปต์ (อพยพ 1 - 12)
|
|
|
|
ไข่ต้มสุก |
เตือนใจถึงการกำเนิดของชนชาติอิสราเอล |
|
กระดูกแกะย่าง |
เป็นสัญลักษณ์แทนลูกแกะในวันปัสกาที่เคยนำมาถวาย บูชาในพระวิหาร |
|
ผักสด |
เช่น แตงกวา เตือนให้รู้ว่านี่คืองานฉลองในช่วงฤดูใบไม้ผลิ |
|
ฮาโรเซธ |
ซึ่งใช้แอปเปิ้ลสับ ถั่ว อบเชย และเหล้าองุ่นมาคลุกเคล้ากัน เตือนให้ระลึกถึงโคลนที่ทาสชาวฮีบรูใช้ทำอิฐ ให้ชาวอียิปต์ และเพื่อระลึกถึงอิสรภาพอันหวานชื่น |
|
น้ำเกลือ |
เป็นสัญลักษณ์แทนน้ำตาของเชลยชาวฮีบรู |
|
ผักชีฝรั่งหนึ่งกำ |
เป็นสัญลักษณ์แทนกิ่งหุสบ ซึ่งใช้จุ่มลงในโลหิตของ ลูกแกะและนำมาพรมบนขื่อ วงกลบประตูในวัน ปัสกาครั้งแรก |
|
เทียนที่จุดไว้ 2 เล่ม |
เป็นสัญลักษณ์แทนพระหัตถ์แห่งการทรงนำของ พระเจ้าที่ทรงนาวฮีบรูออกจาก อียิปต์ |
|
|
|
จะมีการดื่มเหล้าองุ่น 4 ถ้วย |
|
|
1. ถ้วยแห่งการชำระให้บริสุทธิ์ 2. ถ้วยแห่งการทรงไถ่ 3. ถ้วยแห่งพระพร 4. ถ้วยแห่งการขอบคุณ ชาวยิวยังจัดที่ว่างบนโต๊ะอาหารไว้หนึ่งที่ สำหรับเอลียาห์ผู้เผยพระวจนะ
|
|
|
10. ลัค บาโอเมอร์ ช่วงเทศกาลเพสะห์และเทศกาลชาวูโอต เป็นเวลาที่เคร่งขรึมมาก ชาวยิวจะ ระลึกถึงความทนทุกข์ทรมานของพวกเขา เมื่อตกอยู่ในกำมือของชาวโรมัน นี่คือช่วงแห่งการนับวันเวลา (เซฟิรา) แต่ในช่วงเทศกาล ลัค บาโอเมอร์ เท่านั้น ที่ชาวยิวยังไม่เคร่งขรึม โดยมีการฉลองกันด้วยการก่อกองไฟและไปปิกนิก
|
|
|
11. เพ็นเทคศเต (ชาวูโอต) เพ็นเทคศเต มาจากคำกรีก หมายถึง "ที่ห้าสิบ" ชาวูโอต มาจากคำฮีบรู หมายถึง "สัปดาห์"
|
|
|
-
|
เป็นเทศกาลที่ระลึกถึงการประทานพระบัญญัติ 10 ประการบนภูเขาซีนาย และยังเป็นการฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลด้วย |
-
|
เป็นเทศกาลใหญ่ เทศกาลที่ 3 ของชาวยิว ซึ่งตรงกับวันที่ 50 หลังเทศกาลปัสกา กล่าวไว้ในอพยพ 23 : 16 |
|
|
|
 |
|
|
12. วันแห่งความโศกเศร้า ในวันที่ 9 ของเดือนออฟ (ทิชา บาฟ) ชาวยิวจะระลึกถึงการที่วิหารของเฮโรด ถูกทำลายในปี ค.ศ. 70
|
|
|
13. ปุริม ต้นกำเนิดของเทศกาลปูริม อยู่ในหนังสือ เอสเธอร์
|
|
|
-
|
ปุริม มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า สลาก เป็นการอ้างอิงถึงการทอดสลากของ ฮามาน เพื่อหาวันที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว |
-
|
ผู้ใหญ่และเด็ก มักจะแต่งตัวสวยงาม และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ที่เรียกกันว่า "ปุริมสปีล" และมีคุกกี้ชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า "ฮามานตาชิน" |
|
|